การทำหน้าที่ของตนนั่นแหละ คือยอดของศีลธรรม เพราะธรรมะแปลว่าหน้าที่ ถ้าใครทำหน้าที่ของตน คนนั่นแหละคือคนปฏิบัติธรรม ก็ต้องทำหน้าที่ให้ดีที่สุด สามารถยกมือไหว้ตัวเองได้ พอได้ทำหน้าที่ก็ชื่นใจ ว่าเราได้ปฏิบัติธรรม จะไม่รู้สึกเหน็ดเหนื่อย แต่เดี๋ยวนี้ มหาเถรสมาคมดูเหมือนว่า ได้ละเว้นการทำหน้าที่ของตัวเองเสียแล้ว โดยการไม่ปฏิบัติธรรม เหตุปาราชิกนั้นเป็นตามพระธรรมวินัย เป็นไปตามที่พระพุทธองค์ได้ทรงบัญญัติไว้เป็นวินัยของสมณะ จึงถือว่าสูงสุด มีศักดิ์สูงกว่ากฎหมายทั่วๆ ไป แม้แต่รัฐธรรมนูญ พระธรรมวินัย( ปล่อยวางสุขในโลกธรรม๘ )ก็มีศักดิ์สูงกว่า" เป็น 'อกาลิโก' ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ บัญญัติไว้อย่างไรก็เป็นไปอย่างนั้น กฎหมายของบ้านเมืองจะมาบัญญัติให้เลิกปาราชิกก็ทำไม่ได้"วิกฤตเพราะไม่ถูกต้อง จึงเกิดปัญหา เมื่อถูกต้องแล้ว จะมีปัญหาได้อย่างไร คนสมัยนี้ชอบถูกใจมากกว่าความถูกต้อง...เป็นความคิดที่ผิดธรรม
เมื่อได้ถามพระพุทธเจ้าว่า..การเจริญของพระพุทธศาสนา เราจะต้องมีกิเลสด้วยหรือ จึงได้คำตอบจากเต็มหัวใจ...ว่าไม่ใช่เลย พระพุทธเจ้าตั้งศาสนามาเพื่อให้ทุกคนบำเพ็ญภาวนาไปสู่การสิ้นไปซึ่งกิเลส ไม่ได้หวังให้บุคคลผู้หนึ่งผู้ใด บำเพ็ญหาประโยชน์อย่างอื่น ส่วนแนวทางตรงข้ามที่สอนให้เพิ่มพูนซึ่งกิเลสนั้นก็ ไม่ใช่แนวทางของพระพุทธเจ้า เมื่อมาพิสูจน์ด้วยปัญญาโดยใช้กาลามสูตร เป็นการจับทิฏฐิอันผิด เมื่อสิ่งไหนไม่ถูกต้องด้วยธรรมแล้ว สิ่งนั้นจะมีปัญหาทั้งหมด แสดงว่าถูกต้องเพราะไม่มีปัญหานั่นเอง แต่บางครั้งอาจจะไม่ถูกใจบางคน เพราะนั่นคือกิเลส
แล้วมาพิจารณาลึกเข้าไปอีกว่า
แล้วมาพิจารณาลึกเข้าไปอีกว่า
๑.เรามีตัวตนไหมกับเรื่อง ธรรมกาย ใจมันถามตัวเองอีก ก็ได้คำตอบจากจิตสำนึกขึ้นมาว่า เราจะมีได้อย่างไร ในเมื่อเราได้อธิษฐานถวายร่างกายกับจิตใจนี้ แก่พระพุทธองค์เป็นพุทธบูชา เราคือนักรบธรรมของพระพุทธเจ้าแล้ว
๒.ระบบผลประโยชน์ที่เกี่ยวเนื่องกับพระพุทธศาสนาไม่มี เพราะเป็นฆราวาส อยู่ในพุทธบริษัท๔ไม่ได้เป็นพระ เพื่อหาลาภยศชื่อเสียงใดๆ วางซึ่งโลกธรรม๘ คงไว้ซึ่งพระธรรมวินัย
๓.กลัวไหม ไม่เคยกลัวกับสิ่งใด เหตุเพราะจบกิจทางพระพุทธศาสนาแล้ว แต่ถ้าต้องตายวันนี้ วันพรุ่งนี้ก็ไม่ได้หวาดหวั่นเลย เพราะความจริงแล้ว เรานั้นก็ไม่ได้เกิดและไม่ได้ตาย ชีวิตไม่ได้ให้กำเนิดเรา และความตายก็พรากชีวิตเราไปไม่ได้ ตัวตนของเราไม่พึ่งพาชีวิตและความตาย ไม่มีทางเป็นไปได้เลย
๔.จากนี้ไป...จะคอยเป็นกำลังให้พระพุทธศาสนาดำเนินคงอยู่ ๕,๐๐๐ ปีอีกวาระหนึ่ง...
๒.ระบบผลประโยชน์ที่เกี่ยวเนื่องกับพระพุทธศาสนาไม่มี เพราะเป็นฆราวาส อยู่ในพุทธบริษัท๔ไม่ได้เป็นพระ เพื่อหาลาภยศชื่อเสียงใดๆ วางซึ่งโลกธรรม๘ คงไว้ซึ่งพระธรรมวินัย
๓.กลัวไหม ไม่เคยกลัวกับสิ่งใด เหตุเพราะจบกิจทางพระพุทธศาสนาแล้ว แต่ถ้าต้องตายวันนี้ วันพรุ่งนี้ก็ไม่ได้หวาดหวั่นเลย เพราะความจริงแล้ว เรานั้นก็ไม่ได้เกิดและไม่ได้ตาย ชีวิตไม่ได้ให้กำเนิดเรา และความตายก็พรากชีวิตเราไปไม่ได้ ตัวตนของเราไม่พึ่งพาชีวิตและความตาย ไม่มีทางเป็นไปได้เลย
๔.จากนี้ไป...จะคอยเป็นกำลังให้พระพุทธศาสนาดำเนินคงอยู่ ๕,๐๐๐ ปีอีกวาระหนึ่ง...
ดูกรอานนท์ เราจะทํานายไว้ให้เห็น ในอนาคตกาลข้างหน้า จักเกิดพวกมิจฉาทิฏฐิภายนอกพระศาสนา อวดอ้างว่าตัวรู้ ตัวเห็นผีได้ พูดจากับด้วยผี ครั้นบุคคลจําพวกนั้นเกิดขึ้นแล้ว ก็จักเบียดเบียนพระศาสนาของเราให้เสื่อมถอยลงไป ด้วยวาทะถ้อยคําเสียดสีต่างๆ พระสงฆ์สามเณรก็จักเกิดระส่ำระสาย หาความสบายมิได้ เขาจักสอนทิฏฐิวัตรอย่างเคร่งครัด ถืออรัญญิกธุดงค์อย่างพระเทวทัต ภายหลังก็จักเกิดพระบ้านพระป่ากันขึ้น แล้วก็จักแตกกันออกเป็นพวกๆ ไม่สามัคคีกัน ต่างพวกก็ถือแต่ตัวดี ศาสนาของเราก็จักเสื่อมถอยลงไป เพราะพวกมิจฉาทิฏฐิ เห็นแก่ลาภยศ หาความสุขมิได้ มรรคผลธรรมวิเศษก็จักไม่เกิดขึ้นแก่เขา เขาจักเรียนเอาแต่วิชาศีลธรรม อันพวกมิจฉาทิฏฐิสอนให้รู้อะไรกันขึ้นเล็กน้อย ก็อวดดีกันไป แท้ที่จริงความรู้เหลานั้นล้วนแต่รู้ดีสาหรับไปสู่นรก เขาจักไม่พ้นจตุราบายได้เลย ดูกรอานนท์ ในอนาคตกาลภายหน้า จักมีอย่างนี้ไม่ต้องสงสัย ถ้าผู้ใดรู้ลัทธิทิฏฐิอยางนี้ไว้แล้ว เมื่อได้เห็นก็จงเพียรพยายามละเว้น ก็จักได้ประสบความสุข การที่จะระงับดับกิเลสก็ให้ระงับบริโภค ๒ ประการให้เบาบางลง บริโภค ๒ นั้น คือ จีวรปัจจัยแลเสนาสนปัจจัย สองอย่างนี้ชื่อว่าบริโภคภายนอก นับเป็นอยางหนึ่ง บิณฑบาตปัจจัยแลคิลานปัจจัย สองอย่างนี้ชื่อว่าบริโภคภายใน นับเป็นอยางหนึ่ง (ความตอนหนึ่งใน"คิริมานนทสูตร" พระยาธรรมิกราช) การตัดสินพระธรรมวินัยแปดอย่าง พึงรู้ว่า ธรรมเหล่านั้น เป็นธรรม เป็นวินัย เป็นสัตถุศาสน์ (กล่าวคือคำสอน
ของพระศาสดา) จึงจะเป็นธรรมเป็นวินัยเป็นสัตถุศาสน์(ปล่อยวางสุขในโลกธรรม๘) คือ
๑. เป็นไปเพื่อความคลายกำหนัด
๒. เป็นไปเพื่อความไม่ประกอบทุกข์
๓. เป็นไปเพื่อไม่สะสมกองกิเลส
๔. เป็นไปเพื่อความอยากน้อย
๕. เป็นไปเพื่อความสันโดษ
๖. เป็นไปเพื่อความไม่คลุกคลี
๗. เป็นไปเพื่อความพากเพียร
๘. เป็นไปเพื่อความเลี้ยงง่าย
ของพระศาสดา) จึงจะเป็นธรรมเป็นวินัยเป็นสัตถุศาสน์(ปล่อยวางสุขในโลกธรรม๘) คือ
๑. เป็นไปเพื่อความคลายกำหนัด
๒. เป็นไปเพื่อความไม่ประกอบทุกข์
๓. เป็นไปเพื่อไม่สะสมกองกิเลส
๔. เป็นไปเพื่อความอยากน้อย
๕. เป็นไปเพื่อความสันโดษ
๖. เป็นไปเพื่อความไม่คลุกคลี
๗. เป็นไปเพื่อความพากเพียร
๘. เป็นไปเพื่อความเลี้ยงง่าย
การเอาชนะความโลภและความโกรธนั้นเป็นคุณค่าสามัญของทุกศาสนา” เอาชนะความโกรธ ด้วยการเมตตา ไม่ใช่เติมเชื้อไฟเข้าไปอีก ถ้าเราไปศึกษาคำสอนในคัมภีร์ศาสนาต่างๆก็จะเห็นจริงตามนี้คือ ไม่เห็นแก่ตัว เป็นผลให้รักผู้อื่นโดยสมบูรณ์ ก็ในเมื่อธรรมชาติไม่ได้แบ่งแยกใคร แล้วมนุษย์เราจะแบ่งแยกกันทำไม
จิตที่ฟอกด้วย ศีล สมาธิ ปัญญา ย่อมหลุดพ้นจากอาสวะทั้งปวงเป็นไฉน...
โดยนัย..ที่จักกล่าวโดยละเอียดพิศดาร อันว่าศีลนั้น คือ การรักษาความเป็นปกติ ของการไม่เห็นแก่ตัว มีเมตตา รักผู้อื่น และสรรพสัตว์ทั้งหลายโดยสมบูรณ์
ส่วนสมาธินั้นเล่า คือ เพ่งสติระลึกถึงความไม่ใช่ตัวตนอยู่ตลอดทุกลมหายใจเข้าออก
ส่วนปัญญานั้นมีคุณมาก คือการหยั่งรู้ โดยวางสุขในโลกธรรม ๘ เหมือนดั่งไม่มีหัวใจ โดยสลัดคืนลมหายใจซึ่งก็คือจิตนี้ ทิ้งให้เจ้าของเดิม คืนให้กับธรรมชาติ ถ้ากำหนดได้ทุกลมหายใจเข้าออกแล้ว ย่อมไม่ยึดมั่นถือมั่นว่าเป็นตัวเรา หรือเป็นของเราได้เลย ซึ่งเรานั้นย่อมไม่ได้เกิดและก็ไม่ได้ตาย แท้จริงแล้ว จิตใจนั้น"หากเป็นลม อันเกิดอยู่สำหรับโลก ไม่ใช่จิตใจของเรา ซึ่งโลกเขาตั้งแต่งไว้ก่อนเรา เราจึงเข้ามาอาศัยอยู่กับด้วยลม จิตใจ ณ กาลภายหลัง ถ้าหากเป็นจิตใจของเรา ที่พาเอามาเกิด ครั้นเกิดขึ้นแล้ว ใจนั้นก็หมดไป ใครจะเกิดขึ้นมาได้อีก นี้ไม่ใช่จิตใจของใครสักคน เป็นของมีอยู่สำหรับโลก ผู้ใดจะเกิด ก็ถือเอาลมนั้นเกิดขึ้น ครั้นได้แล้วเป็นจิตของตน ที่จริงเป็นของสำหรับโลกทั้งสิ้น"
โดยนัย..ที่จักกล่าวโดยละเอียดพิศดาร อันว่าศีลนั้น คือ การรักษาความเป็นปกติ ของการไม่เห็นแก่ตัว มีเมตตา รักผู้อื่น และสรรพสัตว์ทั้งหลายโดยสมบูรณ์
ส่วนสมาธินั้นเล่า คือ เพ่งสติระลึกถึงความไม่ใช่ตัวตนอยู่ตลอดทุกลมหายใจเข้าออก
ส่วนปัญญานั้นมีคุณมาก คือการหยั่งรู้ โดยวางสุขในโลกธรรม ๘ เหมือนดั่งไม่มีหัวใจ โดยสลัดคืนลมหายใจซึ่งก็คือจิตนี้ ทิ้งให้เจ้าของเดิม คืนให้กับธรรมชาติ ถ้ากำหนดได้ทุกลมหายใจเข้าออกแล้ว ย่อมไม่ยึดมั่นถือมั่นว่าเป็นตัวเรา หรือเป็นของเราได้เลย ซึ่งเรานั้นย่อมไม่ได้เกิดและก็ไม่ได้ตาย แท้จริงแล้ว จิตใจนั้น"หากเป็นลม อันเกิดอยู่สำหรับโลก ไม่ใช่จิตใจของเรา ซึ่งโลกเขาตั้งแต่งไว้ก่อนเรา เราจึงเข้ามาอาศัยอยู่กับด้วยลม จิตใจ ณ กาลภายหลัง ถ้าหากเป็นจิตใจของเรา ที่พาเอามาเกิด ครั้นเกิดขึ้นแล้ว ใจนั้นก็หมดไป ใครจะเกิดขึ้นมาได้อีก นี้ไม่ใช่จิตใจของใครสักคน เป็นของมีอยู่สำหรับโลก ผู้ใดจะเกิด ก็ถือเอาลมนั้นเกิดขึ้น ครั้นได้แล้วเป็นจิตของตน ที่จริงเป็นของสำหรับโลกทั้งสิ้น"
บุคคลทั้งหลายที่มาเป็นศิษย์ของตถาคตนี้ ก็มีความประสงค์ด้วยนิพพาน การที่จะรู้ว่า ดีหรือชั่วกว่ากัน ก็แล้วแต่กิเลสเป็นผู้ตัดสิน ด้วยพระนิพพานเป็นที่ปราศจากกิเลสตัณหา ถ้าผู้ใดเบาบางจากกิเลสตัณหา ก็เป็นผู้ดีกว่าผู้ที่หนาไปด้วยกิเลส ถ้าบุคคลนับถือผู้ที่มีกิเลสมากกว่าผู้ที่ไม่มีกิเลส บุคคลผู้นั้นชื่อว่า "ถือศีล เอาต้นเป็นปลาย เอาปลายเป็นต้น เอาสูงเป็นต่ำ เอาต่ำเป็นสูง ถ้าถืออย่างนี้ ผิดทางพระนิพพานเป็นคนมิจฉาทิฎฐิ พระตถาคตตั้งศาสนาไว้ ไม่ได้หวังให้ผู้หนึ่งผู้ใด บำเพ็ญหาประโยชน์อย่างอื่น ตั้งไว้เพื่อประสงค์ให้บุคคล บำเพ็ญภาวนาเพื่อให้ระงับดับกิเลสเท่านั้น การบำเพ็ญภาวนา ถ้าไม่ได้ทำเพื่อให้ระงับดับกิเลส ก็ได้ชื่อว่า เป็นคนหลงโลกหลงทาง ถ้าผู้ใดไม่ประพฤติตามคำสอนนี้ พึงเข้าใจว่าผู้นั้น เป็นคนนอกพระพุทธศาสนา...ดังนี้
By: thaimonks
By: thaimonks