"รู้จักคุณูประการ ของวัดพระธรรมกาย" โดย พระมหาเถระซิงหวินต้าซือ ผู้ก่อตั้งวัดฝอกวงซาน ไต้หวัน








"รู้จักคุณูประการ ของวัดพระธรรมกาย" โดย พระมหาเถระซิงหวินต้าซือ ผู้ก่อตั้งวัดฝอกวงซาน ไต้หวัน
In Recognition of Dhammakaya Temple By Venerable Master HsingYun
Founder of Fo Kuang Shan
President of Buddha's Light International Association
ความรู้สึกของอาตมาต่อพระพุทธศาสนาในประเทศไทย คือความความดีงามและความสงบสุขยิ่งที่มีมาอย่างต่อเนื่อง จำได้ว่าเมื่อเดือน กรกฏาคม ๒๕๐๖ อาตาและคณะจากไต้หวัน ได้มีโอกาสมาเยือนประเทศไทย คราวนั้นได้เข้าเฝ้าสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (อยู่ ญาโณทโย) สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ 15 รวมถึงการเข้ากราบสมเด็จแห่งธรรมยุติกนิกายด้วย ท่านทั้งสองได้ตรัสว่า ไม่ว่าจะเป็นพระพุทธศาสนาเถรวาท หรือมหายานก็ดี ต่างก็มีศูนย์รวมใจแห่งความเลื่อมในศรัทธาในพระสัมมาสัมพุทธเจ้าองค์เดียวกัน พวกเราจึงไม่ควรที่จะมีความรู้สึกแปลกแยกต่อกัน
My impression of Buddhism in Thailand is that it is always very peaceful and wonderful. I remember in July of 1963, making my first trip with a Buddhist group from the Republic of China to Thailand. We visited the Fifteenth Supreme Patriarch, Mahanikaya Somdejphranyanasamvara, and Dhammayudh Somdejphramahaviro. They both thought that it did not matter whether one practiced Theravada Buddhism or Northern Buddhism because both have the Buddha as the center of their belief. We should not discriminate.
🀄 ในสมัยการประชุมครั้งที่ ๑๖ ,๑๘ และ๒๐ ขององค์การพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลก ซึ่งได้จัดขึ้นที่วัดฝอกวงซัน กาวฉง, ฝอกวงซันซีหลาย อเมริกา, และฝอกวงซันหนานเทียน ออสเตรเลียตามลำดับ ขององค์การพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลกซึ่งมีสำนักงานใหญ่ที่ไทย ทำให้พวกเรามีโอกาสร่วมมือกันและกันอย่างมีความสุข ในปี พ.ศ. ๒๕๔๑ เนื่องในวาระโอกาสอัญเชิญพระพุทธทันตธาตุไปยังไต้หวัน อาตมาได้ถือโอกาสเข้าเฝ้ากราบนมัสการ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก (เจริญ สุวฑฺฒโน) ซึ่งพระองค์ประทานคำเชื่อมั่นแก่อาตมาว่าทุกคนล้วนยินดีที่จะร่วมอัญเชิญพระทันตธาตุในวันที่ ๘ เมษายน อันพระทันตธาตุนั้นถูกอัญเชิญมาจากทิเบตผ่านอินเดียแล้วเข้าสู่ไต้หวัน โดยผ่านประเทศไทย ครั้งนั้นชาวพุทธไทยได้ร่วมกันจัดงานอัญเชิญสู่พิธีต้อนรับสักการะ ซึ่งเป็นการแสดงออกถึงความกระตือรือร้นที่จะร่วมมือกัน โดยทำลายเครื่องขีดกั้นทางวัฒนธรรมของชาวไทย ทำให้ได้รับการยกย่องชื่นชมจากชาวพุทธทั่วโลก งานในครั้งนี้ได้นำไปสู่ความทรงจำที่ดี ซึ่งในระหว่างพิธีสักการะพระทันตธาตุนั้น พุทธศาสนิกชนชาวไทยไม่เพียงแต่พร้อมใจกันมาสักการะบูชา ทั้งยังต้อนรับกันอย่างอบอุ่นและสมเกียรต อันแสดงออกถึงความเคารพในพระพุทธศาสนาและการผสมผสานกันของคุณธรรมที่ดีงามอย่างเด่นชัด
The World Fellowship of Buddhists held its 16th, 18th, and 20th membership conferences at Fo Guang Shan monastery,Hsi Lai Temple in the USA, and Nan Tien temple in Australia. The headquarters of this fellowship is in Thailand. We all cooperated and were very happy. In 1998, for the event welcoming the Buddha's tooth relic to Taiwan, I visited His Holiness Somdej Phra Nyanasamvara, the supreme patriarch of Thailand. He immediately assured me that everyone would welcome the Buddha's tooth together on April 8th. The Buddha's tooth was sent to Taiwan via India from Tibet. On its way though Thailand, Buddhists organized a group to show their support and enthusiasm. This broke with Thai tradition. People from all over the world praised us. This time brings back good memories. During the process of greeting the Buddha's tooth relic, the virtue of Buddhist respect and harmony was put into practice.
แต่ทว่าเมื่อเร็วๆนี้ กลับได้ทราบข่าวว่าวงการพระพุทธศาสนาของประเทศไทย ได้วิพากษ์วิจารณ์คำพูดและการกระทำของท่านเจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย (ธมฺมชโย ภิกขุ) อย่างรุนแรง แรกเริ่มที่ข้าพเจ้าได้ทราบข่าวนี้รู้สึกประหลาดใจ เพราะตั้งแต่วัดฝอกวงซันลงนามเป็นวัดพี่วัดน้องกับวัดพระธรรมกายในวันที่ 25 เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2537 นั้น ล้วนแต่พบเห็นบรรดาพระภิกษุ สามเณร และสาธุชนวัดพระธรรมกายมีความสุภาพอ่อนน้อม ร่วมประกอบพิธีกรรมอย่างเป็นระเบียบเรียบร้อยสง่างาม โดยเฉพาะในวันที่ 7 เดือนมีนาคม พ.ศ. 2536 ข้าพเจ้าได้รับนิมนต์ให้ไปร่วมงานมาฆบูชาที่วัดพระธรรมกาย ได้พบเห็นพระภิกษุผู้มีความเลื่อมใสศรัทธานั่งเรียงรายอย่างเป็นระเบียบเรียบร้อยต่อหน้าพระพุทธรูป ความรู้สึกในใจของอาตมาในขณะนั้น ก่อเกิดความประทับใจจนยากที่จะลืมเลือน
Recently, I heard that Buddhist circles in Thailand criticized the behavior of the abbot of Dhammakaya Temple, Venerable Dhammajayo Bhikkhu. When I heard this news I was quite surprised. On February 25, 1994, Fo Guang Shan and Dharmakaya Temple became sister temples. We know that the monastics and followers of this temple were disciplined and good mannered. On March 7, 1993, I was invited to join their peaceful Lantern Dharma function. I saw a few thousand monastics and devotees gathering in front of the Buddha's statue in good order and with silence. That moment touched my heart and it is still hard to forget.
ในวันที่ 22 เดือนเมษายน ปีนี้ (พ.ศ. ๒๕๔๒) ท่านซินติ้งซึ่งเป็นเจ้าอาวาสวัดฝอกวงซัน รูปปัจจุบัน พร้อมด้วยพระภิกษุ 20 รูป ได้ไปร่วมงานวันคุ้มครองโลกที่วัดพระธรรมกาย สิ่งที่ได้ประจักษ์ด้วยสายตาคือพระภิกษุจำนวนเรือนแสน นั่งเจริญสมาธิภาวนาพร้อมเพรียงกันอย่างสงบเพื่อรับถวายสังฆทาน ช่างเป็นภาพที่ก่อเกิดสิริมงคลอย่างที่สุด! ความเป็นผู้นำและคุณธรรมอันยอดเยี่ยมของพระราชภาวนาวิสุทธิ์สมควรได้รับการยกย่อง ปัจจุบันศาสนาต่างๆ ในโลก อาทิ เช่น คริสตศาสนานิกายคาทิลิก ก็ได้จัดงานประชุมศาสนิกเรือนแสนที่กรุงวาติกันเป็นประจำ มุสลิมจำนวนมากต่างมุ่งหน้าไปแสวงบุญที่นครเมกกะ เมื่อหวนระลึกถึงสมัยพุทธกาลมนุษย์และเทวานับล้านร่วมฟังธรรมด้วยความเคารพ แต่หลังปรินิพพานแล้ว พิธีกรรมทางพระพุทธศาสนาที่สามารถรวมคนได้จำนวนแสนนั้น กล่าวได้ว่าหาได้ยากแสนยาก อาตมารู้สึกชื่นชมยินดีด้วยเป็นอย่างยิ่งต่อผลสำเร็จอย่างยอดเยี่ยมของวัดพระธรรมกาย
This year, on April 22, the present abbot of Fo Guang Shan, Venerable Hsing Ting, allowed twenty monks from this temple join their Earth Day activity. It was magnificent seeing a hundred thousand monks sitting silently accepting offerings. The scene was marvelous! The great leadership and virtues possessed by the abbot were highly praised. Currently in world religion, as in a Catholic gathering in front of the Vatican, the numbers may often reach 100,000 people. Numerous Muslims go to Mecca on pilgrimage. Think of the Buddha's time, millions of people listening to the Buddha's talk. Since the Buddha's nirvana, it has been rare to have a 100,000 people get together at a Buddhist Dharma function. I feel honored by Dhammakaya Temple's great achievement.
ตามความเข้าใจที่ได้ทราบมาว่า เหตุผลของผู้ที่คัดค้านวัดพระธรรมกายนั้น จุดสำคัญอยู่ที่ไม่เห็นด้วยที่คำอธิบายเหตุผลและสาระสำคัญในคำสอนของวัดพระธรรมกาย ที่ถูกมองว่ามีแนวคิดหลายประการคล้ายทางฝ่ายมหายาน และการกระทำเช่นนี้จะก่อให้เกิดการแตกแยกในหมู่สงฆ์ เป็นการกระทำที่ถือว่าเป็นสังฆเภท อันที่จริงแล้วในระหว่างที่พระพุทธองค์ทรงพระชนม์ชีพอยู่นั้น การเติบโต [ของคณะสงฆ์] มีรูปแบบและสภาพทางแวดล้อมที่แตกต่างกัน โดยมีคณะสงฆ์กลุ่มใหญ่สองกลุ่ม นั่นคือกลุ่มอรัญวาสี(พระป่า) และกลุ่มคามวาสี(พระเมือง) แต่หลังจากพุทธปรินิพพาน มีการทำสังคายนาพระไตรปิฎกครั้งที่ 1 เพราะการตีความคำสอนและพระวินัยไม่เหมือนกัน จึงก่อให้เกิดเป็นฝ่ายเถรวาทและฝ่ายมหายาน นี้คือช่วงแรกๆของพุทธเถรวาทและพุทธฝ่ายเหนือ(มหายาน)
As I understand, the reason the people are against Dhammakaya Temple is that may are not satisfied or do not agree with their explanation of the teachings. It is thought that they have too many Mahayana ideas, and that this could lead to disputes in the Sangha, and ultimately destroy the harmony of the group. In fact, during the Buddha's time, the character and the growing environment were different. There were two different types of disciples, forest monastics and monks who lived in the world. At the first gathering after the Buddha's nirvana, because of the different interpretations of the teachings and precepts, there was a division into the Theravada and Mahayana traditions. This was the very beginning of Theravada and Northern Buddhism.
🇹🇭ประเทศไทยในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๓ นั้น มีพระพุทธศาสนาแบบมหายานได้เผยแผ่มาจากประเทศศรีลังกา ซึ่งเคยรุ่งเรืองมาครั้งหนึ่ง สามารถอยู่ร่วมในประเทศเดียวกันกับพระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาทที่เผยแผ่เข้ามาก่อนได้อย่างกลมกลืน ตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์ไม่เคยได้ยินว่ามีความแตกแยกแต่อย่างใด จนกระทั่งถึงปี พ.ศ.2372 พระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาทของประเทศไทยได้แบ่งออกเป็นสองนิกาย คือ มหานิกายและธรรมยุตนิกาย ด้วยเหตุเพราะมีคำอธิบายต่อพระวินัยแตกต่างกัน กระนั้นรายละเอียดความเป็นอยู่ของพระภิกษุสงฆ์ในประเทศไทย อาทิเช่น เครื่องนุ่งห่ม ความเป็นอยู่ วันปลงผม เป็นต้น ก็ยังสามารถอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุขได้ แม้จะเป็นพุทธฝ่าย, ฝ่ายใต้ มหานิกาย หรือธรรมยุติกนิกาย พวกเราล้วนถึงพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์เดียวกันเป็นที่พี่งที่ระลึกอันสูงสุด เรามีความเชื่อในกฏไตรลักษณ์อันเดียวกัน พุทธบริษัททั้งปวงควรสมัครสมานสามัคคีแล้วมุ่งไปข้างหน้า เพื่อความรุ่งเรืองของพระพุทธศาสนาและสันติสุขของสรรพสัตว์
In the 8th century in Thailand, Mahayana Buddhism was very popular and existed harmoniously with Theravada Buddhism. In fact, they had not had a dispute in their history since 1829. Theravada Buddhism in Thailand was divided into two schools, Mahanikaya and Dhammayutthika, due to the different interpretations of the precepts. Thai monastics regardless of lifestyle, dress, retreat, and day for shaving the hair, get along harmoniously. Whether Southern Buddhism or Northern Buddhism, Mahanikaya Buddhism or Dhammayutthika Buddhism, as Makhanikaya and Dhammayutthika have said, "We all believe in the same Buddha; the teachings we all follow focus on Three Dharma Seals. All Buddhists should be unified and move forward for the development of Buddhism and for the benefit of sentient beings based on these foundations."
มีบางท่านถามว่า ปัจจุบันเศรษฐิกิจตกต่ำย่ำแย่ ทำไมสาธุชนทั้งหลายจึงยังจะบริจาคทรัพย์แก่วัดพระธรรมกายเพื่อสร้างพระพุทธรูปและเจดีย์ที่ใหญ่โต? จากประวัติศาสตร์การก่อสร้างถาวรวัตถุทางพระพุทธศาสนา จะพบว่าวัดวาอารามและพระเจดีย์ที่ใหญ่โตสง่างาม ล้วนมีพลานุภาพอย่างมากมายในการที่จะสร้างแรงบัลดาลใจต่อศีลธรรมของมหาชนโดยไม่ต้องอาศัยคำพูด โบสถ์ที่มีชื่อเสียงหลายแห่งของชาวคริสต์ ได้รับออกแบบให้งดงามตระการตาเมลืองมลัง โบราณวัตถุของชาวคริสต์จำนวนวมาก ถูกนำแสดงไว้ในพิพิธภัณฑ์ที่มีชื่อเสียงของโลก ล้วนแต่ทำขึ้นด้วยทองคำและเงิน ที่สว่างรุ่งโรจน์ต้องตาต้องใจผู้ที่มาพบเห็น ไม่มีใครที่จะไม่ชื่นชมยินดี เหล่านี้ลวนแต่เป็นผลพวงของศิลปกรรมทางศาสนาซึ่งมีค่าอย่างมาก แล้วทำไมชาวพุทธในวันนี้ จะไม่สามารถสร้างสิ่งก่อสร้างที่ยิ่งใหญ่สวยงานอลังการ เพื่อแสดงออกถึงความภาคภูมิใจในความเป็นชาวพุทธผ่านงานสถาปัตยกรรมและพระพุทธรูปต่างๆได้?
Some people ask, "Now that the economic situation is not so good, why are devotees willing to donate money to Dhammakaya Temple to build a giant stupa and statue?" From historical Buddhist architecture, we know that the magnificent stupas and temples are very powerful in guiding people without saying a word. The famous Christian churches are very well designed and shining. The Christian staffs displayed in world museums are made of gold and silver, shining and bright. Those who saw them have given high recognition and praise at the combination of religion and art. Why can't today's Buddhists express Buddhist profundity and greatness through magnificent architecture and statues?
นับแต่โบราณกาล องค์กรทางศาสนาต่างๆที่ถูกกฏหมาย ล้วนสามารถได้รับการสนับสนุนส่งเสริมจากศิษยนุศิษย์ส่วนใหญ่ของตนได้ เพราะเขาสามารถที่จะนำเงินบริจาคไปสนับสุนงานการศึกษาและวัฒนธรรมได้ ดังนั้นอาตมาหวังว่าเราไม่ควรมองเพียงแค่ว่าวัดได้เงินบริจาคมาเท่าไหร่ แต่ควรมองถึงสิ่งต่างๆมากมายที่วัดได้ทำเพื่อสังคม ไม่ควรมองแค่รูปลักษณ์ภายนอกของวัดเท่านั้น แต่ควรที่จะมองให้เห็นคุณูปการภายในว่าวัดมีมากมายเท่าไหร่ ไม่ควรที่จะมองแต่สถานการณ์ของพระพุทธศาสนาแค่ปัจจุบันนี้เท่านั้น แต่ควรที่จะคำนึงถึงทิศทางอนาคตของพระพุทธศาสนา ไม่ควรที่จะคำนึงอยู่แค่ความแตกต่างเล็กๆ น้อยๆ แต่ควรที่จะคำนึงถึงความรุ่งเรืองของพระพุทธศาสนาโดยรวม สาธาณชนทั้งหลายต่างก็ทราบว่า นับแต่วัดพระธรรมกายสร้างมา วัดได้สร้างคุณูปการอย่างมากมายต่อพระพุทธศาสนาและสังคม ดังตัวอย่างที่จะกล่าวต่อไป มี 4 ประการ
Since ancient times, the proper religious organizations could get support from the majority of their devotees because they could efficiently use donations for education and cultural purposes. So, I hope that we not only see the money owed by the temple; but see how many things the temple has done for society. Don't just see the outer appearance of the temple, but see how much the temple has to offer inside. Don't just see the present Buddhist situation, but see the future direction of Buddhism. Don't just see the small differences, but see the whole development of Buddhism. As you know, since in the inception of Dhammakaya Temple, it has made many contributions to both Buddhism and society.
The following four examples will explain:
1. ส่งเสริมและผลักดันพระพุทธศาสนาสู่ระดับนานาชาติ: วัดพระธรรมกาย ไม่เพียงแต่ได้สร้างวัดและศูนย์สาขาเพื่อเผยแผ่งานพระศาสนาอยู่ทั่วโลก แต่ยังมีการจัดพิมพ์หนังสือธรรมะ จัดนิทรรศการต่างๆ และแปลสื่อธรรมะออกสู่ภาษาต่างๆมากมาย เช่นภาษาไทย อังกฤษ จีน ญี่ปุ่น ฝรั่งเศส และภาษาเยอรมัน เป็นต้น สมุดภาพกิจกรรมและสื่อธรรมะต่างๆ หลากหลายๆ ชนิดนอกจากนี้ยังมีจัดส่งคณะเพื่อเยี่ยมเยียนองค์กรพุทธในหลายประเทศ เข้าร่วมสัมมนาพระพุทธศาสนาระดับนานาชาติอยู่เสมอๆ ปัจจุบันวัดพระธรรมกายยังเป็นสมาชิกองค์การพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลก และยุวพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลก นอกจากนี้ยังเป็นสมาชิกขององค์กรพัฒนาเอกชนแห่งองค์การสหประชาชาติอีกด้วย
1. Promoting Buddhism to internationalize: Dhammakaya Temple not only builds temples and preaches the Dharma to the whole world; they publish Buddhist books, exhibit Buddhist painting collections, and translate different Buddhist publications into the Thai, English, Chinese, Japanese, French, and German languages. They often organize groups to visit other countries and hold International Buddhist seminars. Today, Dhammakaya Temple is a member of the World Fellowship of Buddhists and the World Fellowship of Buddhist Youth. The Temple is also a non-government organization of the United Nations.
💻 2. เพื่อการเผยแผ่พระพุทธศาสนาให้ทันสมัย: วัดพระธรรมกายได้ริเริ่มจัดทำ[ซีดี]พระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรโรมันเป็นครั้งแรกของโลก นอกจากนี้ยังใช้ระบบอินเตอร์เน็ตเผยแผ่พระธรรมคำสั่งสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าถ่ายทอดไปทั่วโลก นี้คือตัวอย่างที่ดีมาก ต่อการนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้ให้เป็นประโยชน์ต่องานเผยแผ่พระธรรม ซึ่งควรค่าที่เราจะเรียนรู้และดำเนินรอยตาม
2. Promoting a modernization of preaching: Dhammakaya Temple was the first to key the Pali Tripitaka with the Romanized version, using the Internet system to introduce Buddhist teachings to every corner of the world. This is a very good example of a modern way of preaching the Dharma that we should learn and imitate.
3. ส่งเสริมการศึกษาของพระภิกษุสามเณร: วัดพระธรรมกายให้ความสำคัญกับการศึกษาของพระภิกษุสามเณรเป็นอย่างมาก ส่งเสริมการศึกษาค้นคว้าวิจัยพระไตรปิฎก ก็ทำอย่างเต็มกำลังความสามารถ ตั้งแต่ปี พ.ศ.2535 ถึงปี พ.ศ.2538 พระภิกษุวัดพระธรรมกายได้เข้าร่วมสอบบาลี และนักธรรมสนามหลวงของประเทศไทย และสามารถสอบผ่านได้เป็นอันดับหนึ่งของประเทศ นอกจากนี้วัดพระธรรมกายยังส่งบุคลากรที่มีคุณภาพไปศึกษาต่อด้านพระพุทธศาสนาที่ประเทศญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา ไต้หวัน อังกฤษ และเบลเยี่ยม เป็นต้น นอกจากนี้ยังจัดงานธุดงค์ อบรมธรรมะโดยนิมนต์พระภิกษุมาจากทั่วประเทศ เพื่อมาเข้ารับการอบรม ถึงวันนี้เป็นเวลาเกือบ 13 ปีแล้วที่ช่วยรับภาระทางพระพุทธศาสนา ให้การอบรมบุคลากรมากมาย
3. Promoting the Sangha's education: Dhammakaya Temple values the Sangha's education, and promotes the study of the Tripitaka. From 1992 to 1995, the monks and novices of Dhammakaya Temple have joined in the Thailand Sangha Examination and have received the highest scores. Also, Dhammakaya Temple assigns its outstanding members to study further in Japan, the USA, Taiwan, England, and Belgium. For thirteen years, they have held "Buddhist retreats" and have invited monks and novices to come join the training. They have educated many monastics.
🎎4. พัฒนาจิตใจของคนในสังคม: วัดพระธรรมกายได้จัดโครงการอบรมต่างๆมากมายแก่เยาวชน อาทิเช่น โครงการอบรมธรรมทายาท, การอบรมช่วงเข้าพรรษา, การอบรมธุดงค์แก้ว, การปฏิบัติธรรมถือศีล, การนั่งสมาธิ, รวมถึงโครงการพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ ซึ่งได้ช่วยพัฒนาจิตใจของผู้คนมากมาย นอกจากนี้ยังมีการจัดสอบตอบปัญหาธรรมะทางก้าวหน้า อันเป็นการช่วยกระตุ้นพฤติกรรมรักการอ่านให้กับผู้คนในสังคมโดยรวม
4. Purifying the minds of society: Dhammakaya Temple holds a Young Dhammadayada Training Program, training during the rains-retreat, austere practices, meditation Dharma functions, as well as Sunday Buddhist classes, which help to purify people's minds. Moreover, each year the Buddhist Examination helps to encourage the reading habits of the whole society.
💎มีธรรมะบทหนึ่งกล่าวว่า “ถ้าหากว่าต้องการให้พระพุทธศาสนารุ่งเรือง ขอเพียงพระภิกษุสนับสนุนพระภิกษุด้วยกัน” การที่พระพุทธศาสนาจะก้าวขึ้นสู่ความเป็นนานนาชาตินั้น มีแนวโน้มเป็นไปได้ ความทันสมัยเป็นหัวใจสำคัญที่จะทำให้พระพุทธศาสนาก้าวหน้า การศึกษาของพระภิกษุสามเณร เป็นพื้นฐานที่สำคัญของอายุพระพุทธศาสนา การพัฒนาคุณภาพจิตใจของผู้คนเป็นจุดมุ่งหมายของพระพุทธศาสนา
There is a saying in Buddhism: "If we want Buddhism to prosper, the only way is for the Sangha to praise each other." Internationalization is the definite trend in Buddhism, moderation is the key to promoting the Buddhism, Sangha education is the foundation for a Buddhist future, and purifying people's minds is always the objective of Buddhism.
🍀 ด้วยลักษณะดังที่กล่าวมาทั้งหมด วัดพระธรรมกายได้สร้างคุณูปการไว้อย่างเด่นชัดมากมาย หวังว่าแวดวงชาวพุทธทั้งหลายในประเทศไทย จะสามารถมีทัศนคติเชิงบวกต่อมุมมองที่มีต่อวัดพระธรรมกาย และจะช่วยกันส่งเสริมและให้กำลังใจต่อวัดพระธรรมกายด้วย อาตมาเชื่อว่าสำหรับความแตกต่างเพียงเล็กน้อย ถ้าหากว่าเราท่านทั้งหลายสามารถทำใจเป็นกลาง เสริมสร้างความเข้าใจและประนีประนอมซึ่งกันและกัน อาตมาในฐานะมิตรสหายของชาวพุทธไทย ผู้มีความจริงใจและมิตรภาพ จักได้ขอโอกาสแสดงความคิดเห็นดังที่ได้กล่าวมาข้างต้น
[พระธรรมาจารย์] ซิงหวิน
(ประธานกิตติมศักดิ์องค์การพุทธสาสนิกสัมพันธ์แห่งโลก )
13 พฤษภาคม พ.ศ.2542
In all of there aspects, Dhammakaya Temple had made an outstanding contribution. I hope that various Buddhist circles in Thailand can give a positive evaluation and encouragement to Dhammakaya Temple. I believe, even with small differences, that we can increase communication with a sincere heart, and the development of Buddhism in Thailand will be very beneficial. I, as a friend of Buddhism in Thailand, with my sincere heart, and the friendship, provide the above opinions.
HsingYun
Translated by Ven. Yi Jih, Peggy Willett, Rush Glick
Proofread by Tom Graham

🌾เนื้อหาภาษาไทยคัดลอกและเรียบเรียงใหม่ จาก นสพ.พิมพ์ไทย ประจำวันอาทิตย์ที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2542

Cr: ปรับปรุงข้อมุลจาก Jherora, นสพ.พิมพ์ไทย; photos: 佛光山資訊中心