เที่ยวอุบลราชธานี 3,000 โบก

เที่ยวอุบลราชธานี 3,000 โบก

เอาล่ะครับใครที่จะมา เที่ยวอุบลราชธานี ผมมีอีกหนึ่งสถานที่มาแนะนำครับ คือ  3,000 โบก ครับ


   สามพันโบก  ถือว่าเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ปลาตามธรรมชาติที่ใหญ่ที่สุดในลำน้ำโขงเท่าที่ทราบกันมา ซึ่งในบริเวณเดียวกัน  มีสถานที่ที่ชาวบ้านเรียกว่า  แกรนแคนยอนน้ำโขง  อันเกิดจากการกัดเซาะของน้ำหลายพันปี  เป็นร่องน้ำขนาดใหญ่ แก่งหินสามพันโบก เป็นกลุ่มหินทรายแนวเทือกเขาภูพานตอนปลายที่ทอดตัวยาวริมฝั่งโขงไทยและลาว  สายน้ำแคบและเป็นคุ้งน้ำ  ริมฝั่งโขงบริเวณนี้เป็นกลุ่มหินที่เรียงตัวทอดยาว เป็นสันดอนขนาดใหญ่พื้นที่กว่า 30 ตารางกิโลเมตร ผาหินบริเวณโค้งด้านหน้ารับแรงน้ำที่ไหลจากตอนบน  ก่อเกิดประติมากรรมธรรมชาติที่งดงาม 

               จุดเด่นที่น่าสนใจคือ โบก อันเกิดจากกระแสน้ำได้พัดพาก้อนกรวด หิน  ทราย  และเศษไม้  กัดเซาะขัดแผ่นหินทรายให้เกิดเป็นหลุมแอ่ง  มีขนาดเล็กๆจนถึงขนาดใหญ่จำนวนมากมาย หินบางก้อนถูกกัดกร่อนคล้ายงานแกะสลักเป็นรูปสัตว์ รูปหัวใจ รูปมิกกี้เมาส์จากโบกจำนวนมากมาย  จนสถานที่แห่งนี้ถูกขนานนามว่า  สามพันโบก แก่งสามพันโบก เป็นแก่งหินที่อยู่ใต้ลำน้ำโขงในช่วงฤดูน้ำหลาก  ประมาณเดือนกรกฏาคม – เดือนตุลาคม  และโผล่พ้นน้ำอวดความงามให้นักท่องเที่ยวมาเยี่ยมชมได้  ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน – มิถุนายน ทุกปี

ภาพโดย : UbonTT Business


การเดินทาง
            การเดินทางไปเที่ยวชมสามพันโบก อยู่ห่างจากจังหวัดอุบลราชธานีประมาณ 120 กม. ตามทางหลวงอุบล - ตระการ - โพธิ์ไทร  คือ
            เดินทางท่องเที่ยวทางเรือ ไปยังแก่งสามพันโบก  นิยมนั่งเรือจากหาดสลึงที่บ้านปากกะกลาง  ต.สองคอน  ล่องตามลำน้ำโขงระยะทาง 4 กิโลเมตร  ระหว่างทางจะผ่าน “ปากบ้อง” จุดแคบที่สุดของแม่น้ำโขง  หาดสลึง หินหัวพะเนียง  เป็นแก่งหินกลางแม่น้ำที่ทำให้แม่น้ำโขงแยกออกเป็นสองสาย  หรือสองคอนในภาษาท้องถิ่น  จึงเป็นที่มาของชื่อบ้านสองคอนและสามพันโบก  ศิลาเลข  หาดหงส์ รายละเอียดเส้นทางเที่ยวทางเรือปากบ้อง  เป็นจุดชมวิวที่หมู่บ้านสองคอน  ตำบลสองคอน  อำเภอโพธิ์ไทร  จังหวัดอุบลราชธานี  เป็นจุดที่แม่น้ำโขงไหลพาดปะทะแนวเทือกเขาภูพานตอนปลาย การปะทะกันของพลังธรรมชาติอันยิ่งใหญ่  ก่อให้เกิดภูมิประเทศที่มหัศจรรย์มากมาย  ซึ่งจะสัมผัสได้ยามที่แม่น้ำโขงลดระดับลงได้ที่ในยามฤดูแล้งราวเดือนพฤศจิกายน -  มิถุนายน 

ททท.


           ตลอดระยะทางที่ไหลผ่านประเทศไทย  ยาวกว่า 700 กิโลเมตร  เป็นจุดที่แม่น้ำโขง  แคบที่สุด  “ปากบ้อง” เป็นหน้าผาหินที่เกิดจากรอยแยกตัวของแผ่นหินทรายเปลือกโลก  ลักษณะเหมือนคอขวด  ส่วนที่แคบที่สุดวัดได้ 56 เมตร หินหัวพะเนียง  อยู่ในพื้นที่หมู่บ้านสองคอน  ตำบลสองคอน  อำเภอโพธิ์ไทย จังหวัดอุบลราชธานี  ลักษณะทางภูมิศาสตร์  เป็น เกาะหินขนาดใหญ่กลางแม่น้ำโขงรูปร่างคล้ายอุปกรณ์ประกอบคันไถ  อยู่ถัดจากบริเวณปากบ้องขึ้นไปทางเหนือประมาณ 500 เมตร  เกาะหินใหญ่โผล่ขวางกลางลำน้ำโขง  หินหัวพะเนียง  มีรูปร่างคล้ายใบไถไม้ (ในภาษาถิ่น พะเนียงคือแท่นไม้ที่ใช้สวมใบไถเหล็ก)  ชาวบ้านจึงเรียกว่า  หินหัวพะเนียง  แต่ลักษณะหินในบริเวณนี้บางกลุ่มจะเป็นช่อแหลมคม  ซึ่งเกิดจากการปะทุขึ้นมาของหินทรายร้อนคล้ายหินภูเขาไฟ  แต่ไม่ใช่แมกมาหรือลาวา  เมื่อปะทุขึ้นมาปะทะกับกระแสน้ำเย็นจึงแข็งตัวกลายเป็นหินที่มีลักษณะเป็นช่อเรียกว่า “หินหัวพะเนียง” เป็นเกาะกลางแก่งหินกลางแม่น้ำที่ทำให้แม่น้ำโขงแยกออกเป็นสองสาย

ภาพสามพันโบก ภาพโดย Natchaya suriyachat



ท่านไดที่จะมาเที่ยวอุบลราชธานี ที่ 3,000 โบก แห่งนี้ก็ขอให้มีความสุขกับธรรมชาติที่นี่และการพักผ่อนในวันหยุดน่ะครับ