สิงคโปร์ -:- จัดใหญ่!เฉลิมฉลองวิสาขบูชาโลก

 
http://www.dmc.tv เพลง วิสาขบูชา คำร้อง ธรรมรักษ์ คำแปลภาษาอังกฤษ ดร.อนัญญา เมธมนัส คำแปลภาษาจีน อ.แอนโทนี่ อั้งประเสริฐ ทำนอง เรียบเรียง ปัญจสิขะ ขับร้อง ปัญจสิขะ ใช้เฉพาะในการสอนศีลธรรม
On Vesak Day, Buddhists all over the world commemorate events of significance to Buddhists of all traditions: The birth, enlightenment and the passing away of Gautama Buddha. As Buddhism spread from India it was assimilated into many foreign cultures, and consequently Vesak is celebrated in many different ways all over the world.

สิงคโปร์จัดใหญ่!เฉลิมฉลองวิสาขบูชาโลก

สิงคโปร์จัดใหญ่!เฉลิมฉลองวิสาขบูชาโลก

สิงคโปร์จัดใหญ่!เฉลิมฉลองวิสาขบูชาโลก

สิงคโปร์จัดใหญ่!เฉลิมฉลองวิสาขบูชาโลก ‘ลี’ขอบคุณชาวพุทธอดทนยอมรับต่างศาสนา : : สำราญ สมพงษ์ นิสิตปริญญาโทสาขาสันติศึกษา มจร รายงาน

สิงคโปร์จัดใหญ่!เฉลิมฉลองวิสาขบูชาโลก
 

สิงคโปร์จัดใหญ่!เฉลิมฉลองวิสาขบูชาโลก

สิงคโปร์จัดใหญ่!เฉลิมฉลองวิสาขบูชาโลก ‘ลี’ขอบคุณชาวพุทธอดทนยอมรับต่างศาสนา : : สำราญ สมพงษ์ นิสิตปริญญาโทสาขาสันติศึกษา มจร รายงาน

               ก่อนจะถึงวันวิสาขบูชาวันสำคัญสากลของโลกวันที่ 1 มิ.ย.2558นี้ ได้เห็นการเคลื่อนไหวของพุทธศาสนิกชนทั่วทุกมุมโลกได้จัดกิจกรรมเฉลิมฉลองกันบ้างแล้วเนื่องจากการกำหนดวันไม่ตรงกัน อย่างเช่นที่ประเทศเนปาลแดนประสูติของพระพุทธเจ้าได้จัดเมื่อช่วงเดือนเมษายนหลังจากเกิดแผ่นดินไหวไม่กี่วัด

               ขณะเดียวกันเมื่อวันที่ 14 พ.ท.ที่ผ่านมาประเทศสหรัฐอเมริกาได้จัดกิจกรรมการเฉลิมฉลองที่ทำเนียบขาวได้มีชาวพุทธทั้งพระและฆราวาสหลายนิกายเข้าร่วม โดยมีคนไทยที่ดำรงตำแหน่งอนุศาสนาจารย์ประจำกองทัพสหรัฐฯรวมอยู่ด้วย นับเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ของศาสนาพุทธในประเทศอเมริกาเลยที่เดียว ประเด็นที่การแสดงความคิดเห็นในกิจการนี้คือสันติศึกษา ภาวะโลกร้อน และการช่วยเหลือขององค์กรสาธารณกุศลของชาวพุทธต่อภัยพิบัติ
              สำหรับประเด็นสันติศึกษานั้นถือว่าเป็นประเด็นสำคัญเพราะพระพุทธเจ้าได้ประกาศอุดมการณ์ในการแผยแพร่พระพุทธศาสนาที่วัดเวฬุวนารามเมืองราชคฤห์ที่เรียกว่า “โอวาทปาฏิโมกข์” ซึ่งเป็นแนวทางสันติวิธีในการสร้างสันติภาพที่ประกอบด้วยอุดมการณ์ 4 หลักการ 3 และวิธีการ 6 ส่งผลให้สหาประชาชาติได้ประกาศรับรองให้วันวิสาขบูชาเป็นวันวิสาขบูชาโลกเพราะเห็นว่าสงครามหรือสันติภาพจะเกิดขึ้นได้ก็อยู่ที่ใจ และยูเนสโก้สร้างคบเพลิงไฟสันติภาพและจุดไฟไว้ไม่เคยดับตั้งแต่ ค.ศ.1986  เป็นต้นมา โดยมีข้อความว่า “แสงสว่างเกิดขึ้นที่นี่”  เพื่อเป็นการยกย่องมนุษย์คนหนึ่งที่เกิดมาทำประโยชน์ทั้งชีวิตให้กับบุคคลอื่น เพราะความสำคัญดังกล่าว มจร จึงได้เปิดหลักสูตรสันติศึกษาเน้นสร้างสันติภาพภายในและกำลังเปิดรับสมัครนิสิตรุ่นที่ 3 อยู่ขณะนี้ดูรายละเอียดได้ที่ www.ps.mcu.ac.th

               พร้อมกันนี้วันอาทิตย์ที่ 17 พ.ค.นี้ตั้งแต่เวลา 8.30 น. เป็นต้นไป คณะกรรมการพุทธศาสนานานาชาติ กรุงวอชิงตัน,ดี.ซี. ประเทศสหรัฐอเมริกา ร่วมกันจัดกิจกรรมเฉลิมฉลองที่วัดไทยกรุงวอชิงตัน,ดี.ซี. (Wat Thai Washington DC 13440 Layhill Rd Silver Spring MD) โดยได้เชิญผู้สนใจเข้าร่วมงานและน้อมบูชาและระลึกถึงพระพุทธเจ้าโดยพร้อมเพรียงกัน อนึ่งทางวัดมีโรงทานสำหรับผู้เข้ามาร่วมงานด้วย

               ใกล้ประเทศไทยอย่างเช่นประเทศสิงคโปร์ได้มีการจัดเฉลิมฉลองเมื่อวันที่ 15 พ.ค.ที่ผ่านมาเนื่องจากประชากรส่วนใหญ่นับถือพระพุทธศาสนาสายมหายาน โดยมีนายลี เซียนลุง นายกรัฐมนตรีเป็นประธานเปิดงาน โดยมีผู้นำจากศาสนา กลุ่มชาติพันธุ์ และสมาชิกขององค์กรระหว่าง ศาสนาต่างๆเข้าร่วมประมาณ ประมาณ 7,000 คน และได้มีการแสวงบันเทิงธรรมบนเวที

               นายลี เซียนลุงได้กล่าวขอบคุณชาวพุทธที่มีความอดทนและยอมรับศาสนาต่างๆ ปฏิบัติอย่างเท่าเทียมกันโดยไม่คำนึงถึงเชื้อชาติศาสนา โดยให้บริการสำหรับคนยากจน โดยได้เปิดคลินิกและให้บริการทางการแพทย์ฟรี

               "นั่นแสดงให้เห็นว่าในช่วงครึ่งศตวรรษที่ผ่านมาว่าชาวสิงคโปร์มีการเคารพซึ่งกันและกันและความเข้าใจในศาสนาที่แตกต่างกัน สามารถร่วมกันเพื่อสร้างความไว้วางใจและความสามัคคี  ผู้คนจากศาสนาที่แตกต่างกันได้แบ่งปันค่านิยมร่วมกัน ได้สร้างความแข็งแกร่งให้กับประเทศสิงคโปร์" นายลี เซียนลุง กล่าว

               ขณะเดียวกันที่ประเทศจีนและเกาหลีใต้ก็มีการจัดกิจกรรมเช่นนี้เหมือนกัน เฟซบุ๊ก"บีบีซีไทย - BBC Thai" ได้รายงานว่า กรุงโซลของเกาหลีใต้ถูกประดับประดาไปด้วยโคมไฟหลากสีสัน พร้อมทั้งมีการเดินขบวนพาเหรดโคมไฟ เพื่อเตรียมฉลองวันคล้ายวันประสูติของพระพุทธเจ้าตามคติทางเอเชียตะวันออก ที่กำลังจะมาถึงในวันที่ 25 พฤษภาคม ซึ่งถือเป็นวันหยุดประจำชาติของเกาหลีใต้ด้วย แสงสว่างจากโคมไฟเป็นสัญลักษณ์ของการมุ่งทำความดี และยังเปรียบได้กับแสงที่ส่องให้มนุษย์ได้มีดวงตาเห็นธรรมและหลุดพ้นจากความทุกข์

               แม้ว่าจะยังมีข้อถกเถียงในเรื่องของวันประสูติของพระพุทธเจ้า แต่เกาหลีใต้และอีกหลายแห่งในแถบเอเชียตะวันออก เช่น ฮ่องกงและมาเก๊า ได้กำหนดให้วันคล้ายวันประสูติของพระพุทธเจ้า ตรงกับวันที่ 8 ของเดือน 4 ตามปฏิทินจันทรคติของจีน

               ทางด้านประเทศไทยโดยปีนี้สภาสากลวันวิสาขบูชาโลก ได้มีมติเมื่อปลายปีที่แล้วให้ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ พร้อมกันนี้รัฐบาลไทยได้ตั้ง "คณะกรรมการจัดงานวิสาขบูชาวันสำคัญสากลของโลก  28-30 พ.ค.2558" ขึ้นมาชุดหนึ่ง ซึ่งมีพระพรหมบัณฑิต กรรมการมหาเถรสมาคม อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร) ในฐานะประธานสภาสากลวันวิสาขบูชาวันสำคัญสากลของโลกเป็นประธาน โดยการเฉลิมฉลองดังกล่าวจะเริ่มขึ้นระหว่างวันที่ 28-30 พ.ค.2558นี้

             สำหรับการจัดการเฉลิมฉลองวันวิสาขบูชาวันสำคัญสากลของโลกที่ประเทศไทยนั้นได้กำหนดหัวข้อการเฉลิมฉลองคือ "พระพุทธศาสนากับวิกฤติของโลก(Buddhism and World Crisis"  โดยมีวัตถุประสงค์สำคัญนอกเหนือจากการจัดงานเพื่อถวายเป็นพุทธบูชา และตอกย้ำความเป็นศูนย์กลางของพระพุทธศาสนาโลกแล้ว คือ การจัดงานครั้งนี้จะเป็นการเทิดพระเกียรติเนื่องในวโรกาสที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีทรงเจริญพระชนมายุครบ 60 พรรษา

              การเฉลิมฉลองวันวิสาขบูชาวันสำคัญสากลของโลกเริ่มขึ้นในวันที่ 28 พ.ค.เป็นวันเปิดที่หอประชุม มวก. 48 พรรษา มจร อ.วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา    และในวันที่ 29 พ.ค.2558 จะมีการประชุมสัมมนานานาชาติที่หอประชุม มวก. 48 พรรษา มจร อ.วังน้อยเช่นกัน ส่วนพิธีปิดจะจัดขึ้นในวันที่ 30 พ.ศ. 2558  ณ ศูนย์ประชุมสหประชาติ ราชดำเนินนอก กรุงเทพมหานครโดยมีการเชิญชาวพุทธทั่วโลก 84 ประเทศ รวม 2,520 รูป/คนร่วมงาน

              การสัมมนานานาชาติในวันที่ 29 พ.ค. ภายใต้หัวข้อหลักเรื่อง "พระพุทธศาสนากับวิกฤติของโลก" (Buddhism and World นั้น มีองค์ประกอบด้วยหัวข้อย่อย (Sub-Theme) 4 ประเด็นคือ (1) พุทธวิธีในการแก้ปัญหาความขัดแย้งทางสังคม (Buddhist Response to Social Conflict  (2) พุทธวิธีในการแก้ปัญหาความเสื่อมโทรมด้านสิ่งแวดล้อม (Buddhist Response to Environmental Degradation)  (3) พุทธวิธีในการแก้วิกฤตทางการศึกษา (Buddhist Response to Educational Crisis และ (4) พระพุทธศาสนากับประชาคมอาเซียน (Buddhism and ASEAN Community) พร้อมกันนี้ จะมีการประชุมเชิงปฏิบัติการ 2 กลุ่ม คือ (1) พระไตรปิฏกฉบับสากล (Common Buddhist Text:CBT)   และ (2) สหบรรณานุกรมทางพระพุทธศาสนา (Union Catalogue of Buddhist Texts:UCBT)

              ทั้งนี้การจัดประชุมนานาชาตินั้น  มจร ในฐานะที่ได้รับการสนับสนุนจากมหาเถรสมาคม และรัฐบาลไทย ซึ่งเน้นให้ผู้เรียนได้ศึกษาพระพุทธศาสนาบูรณาการการกับศาสตร์สมัยใหม่  ไดัเปิดพื้นที่ให้คณาจารย์ นักวิจัย และนิสิตระดับปริญญาโท ปริญญาเอกของมหาวิทยาลัยได้นำเสนองานวิจัยต่อเวทีสาธารณะให้สอดรับกับเกณฑ์ของสำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา นิสิต นักศึกษา และคณาจารย์ทั่วไปสามารถส่งบทความเพื่อตีพิมพ์ในเอกสารประกอบการประชุมวิชาการระดับนานาชาติด้วย โดยสามารถติดตามกิจกรรมได้ที่เว็บไซต์ http://www.undv.org/vesak2015/en/index.php

...............................................
(หมายเหตุ : ขอบคุณภาพจากเฟซบุ๊ก Lianhe Zaobao,  Phoumavong Prasert,  Kong Meng San Phor Kark See Monastery)
แหล่งข่าว : http://www.komchadluek.net/detail/20150517/206444.html